การเป็นที่ฮือฮาอีกครั้งหลังจากที่การ ประมูล บลูอายส์ ไวท์ดรากอน พุ่งสูงถึง 400 ล้านบาท จนทำให้ศาลจีนต้องเข้ามาระงับการประมูล เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน สำนักข่าว โกลบอลไทมส์ รายงานว่าศาลในมณฑลอันฮุย ประเทศจีนได้สั่งระงับการประมูลการ์ด “บลูอายส์ ไวท์ดรากอน” (Blue Eyes White Dragon) การ์ดชื่อดังของการ์ดเกม “ยูกิโอ” หลังจากที่การ์ดราคาประมูลพุ่งสูงถึง 400 กว่าล้านบาท
โดยทางอาลีบาบา เว็ปไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดังในประเทศจีนได้ออกมาแถลงว่าพวกเขาระงับการประมูลครั้งนี้
เนื่องจากราคาประมูลไม่สอดคล้องกับสินค้าอย่างมาก และสงสัยว่าอาจมีการเก็งกำไรหรือมีการเสนอราคาที่แฝงเจตนาไม่ดี ซึ่งทางเว็ปไซต์เชื่อว่าราคาจริงๆน่าจะอยู่ที่ราวๆ 500 บาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตามผู้เล่นได้ออกมาชี้ว่าสาเหตุที่ราคาการ์ดใบนี้พุ่งสูง เนื่องจากการ์ดใบนี้เป็นการ์ดที่ถูกผลิตออกมารุ่นพิเศษในช่วงปี 2562 โดยบริษัทโคนามิ และมีเพียงแค่ 500 ใบทั่วโลกเท่านั้น การประมูลครั้งนี้มีผู้เข้าสนใจเข้าชมมากกว่าสองล้านครั้ง และมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมประมูลกว่าสองแสนคน ก่อนที่การประมูลจะถูกระงับลงไป
จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่าเจ้าของการ์ดใบนี้คือนาย จางอวี้เจี๋ย จำเลยในคดียักยอกเงินในกองทุนดูแลที่อยู่อาศัยมูลค่ากว่า 70 ล้านหยวน ขณะที่เขาทำงานอยู่ในสำนักงานที่ดินเมืองฉูโจว ซึ่งหลังจากที่นายจางถูกตัดสินโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา
กรมควบคุมโรคของ EU ออกมาคาดการณ์ว่า โควิดเดลต้า จะกลายเป็นโควิดเชื้อสายหลักในช่วงเดือนสิงหาคม วอน รบ. เร่งฉีดวัคซีนให้ครบโดส
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน สำนักข่าว อัลจาซีร่า รายงานว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยุโรป หรือ ECDC ได้ออกมาคาดเดาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้
โดยทาง ECDC คาดเดาว่าในช่วงสิงหาคมนี้ โควิดสายพันธุ์เดลต้า หรือ โควิดสายพันธุ์อินเดีย จะเป็นโควิดสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาด ซึ่ง ECDC เชื่อว่าผู้ป่วยใหม่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวกว่าร้อยละ 90 จะป่วยเป็นโรคโควิดชนิดนี้
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยุโรป ระบุว่าโควิดเดลต้าสามารถแพร่เชื้อได้เร็วกว่าโควิดสายพันธุ์อัลฟ่าที่ถูกค้นพบขึ้นในประเทศอังกฤษกว่าร้อยละ 40-60 และเนื่องจากการแพร่ระบาดได้ง่ายทำให้ ทาง ECDC มองว่าโควิดเดลต้าจะกลายเป็นโควิดสายพันธุ์หลัก
ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของ ECDC กล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงว่าโควิดอินเดียจะแพร่กระจายเป็นอย่างมากในช่วงฤดูร้อนนี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนหนุ่มสาวที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิดครบโดส และผู้ที่ได้รับเชื้ออาจจะป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้
โดยทางเจ้าหน้าที่ระบุอีกว่า ในตอนนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่ทางการจะเร่งฉีดวัคซีนโควิด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดเชื้อสายนี้ต่อไป ก่อนหน้านี้ทางผู้ผลิตวัคซีนไฟเซอร์และแอสตราเซเนกาได้ทำการทดลองวัคซีนกับโควิดสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งทั้งสองบริษัทยืนยันว่าวัคซีนพวกเขามีประสิทธิกับโควิดสายพันธุ์อินเดีย
John McAfee เสียชีวิตแล้ว ณ ห้องขังในคุกประเทศสเปน
John McAfee นักธุรกิจใหญ่ ผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ชื่อดัง ได้เสียชีวิตแล้ว ด้วยอายุ 75 ปี ณ ห้องขังของเรือนจำในประเทศสเปน ในวันนี้ (24 มิ.ย.) ได้มีการรายงานถึงการเสียชีวิตของ John McAfee นักูรกิจใหญ่ – ผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ชื่อดัง McAfee Associates ในวัย 75 ปี ณ ห้องขังของเรือนจำในประเทศสเปน
จากการรายงานของ El Pais สื่อท้องถิ่นประเทศสเปนนั้น McAfee ได้เสียชีวิตลง ณ ห้องขังของเรือนจำบาร์เซโลน่า สาเหตุการเสียชีวิตยังไม่มีการยืนยันแต่อย่างใด โดยทางเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำเรือนจำพยายามทำการช่วยเหลือแล้วแต่ไม่สามารถสำเร็จ ซึ่งก็ได้มีการสันนิษฐานในเบื้องต้นว่ามาจากฆ่าตัวตาย
และจากการประกาศอย่างเป็นทางการ ไม่ได้มีการระบุชื่อของ McAfee มีเพียงแค่การบอกว่าผู้เสียชีวิตนั้นมีอายุ 75 ปี และเป็นนักโทษที่อยู่ระหว่างการดำเนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ด้วยแหล่งข่าวภายในหน่วยงานรัฐได้ให้การยืนยันแก่ Associated Press ว่าผู้เสียชีวิตนั้นคือ McAfee จริง
McAfee นั้น ได้ประสบกับปัญหาทางกฎหมายจำนวนมาก ภายหลังจากที่เขาได้ทำการขายบริษัท และธุรกิจอื่น ๆ ของเขา ที่เป็นที่จดจำมากที่สุดก็คือกรณีที่เขาเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรม Gregory Viant Faull ผู้เป็นเพื่อนบ้านของเขา ในประเทศเบลิซ (Belize) แต่ไม่ถูกดำเนินการทางกฎหมายเลย และความพยายามลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในฐานะตัวเลือกของพรรค Libertarian แต่ไม่ได้รับเลือกในปี 2014, 2020
โดย McAfee ได้ถูกกุมขังในเดือนตุลาคม 2020 ภายใต้ข้อหาหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Evasion) นอกจากนี้แล้วเขายังถูกตั้งข้อหาฐานฉ้อโกงเนื่องจากการโฆษณา Cryptocurrency ของเขา ซึ่งเขาได้พยายามต่อสู้เพื่อเลี่ยงการถูกส่งตัวกลับไปรับโทษที่สหรัฐอเมริกา แต่ก็แพ้ไปเมื่อทางศาลสูงสุดของประเทศสเปนอนุมัติการส่งตัวกลับ
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง